วันอาทิตย์ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

เรามาเริ่มถักลายลูกฟูกใหญ่กันต่อดีกว่าค่ะ
ไปกันเลย...


การถักลายลูกฟูกใหญ่










การถักลายSeed









การลดห่วงลายนิต






การลดห่วงลายเพิร์ล









การเพิ่มห่วงลายนิต














การเพิ่มห่วงลายเพิร์ล






ถ้าเพื่อนๆมีความสนใจในการถักนิตติ้งสามารถไปฝึกกันได้ที่ร้านวาจา วิคทอเรีย แอนด์ คราฟ ช๊อป ร้านนี้เป้นแหล่งรวมอุปกรณ์  เย็บ ปัก ถัก ร้อยที่ครบวงจรมากที่สุดทั้งไหมพรม คริสตัล สวารอฟสกี้  ผ้าลูกไม้   เพียงแค่ซื้ออุปกรณ์ทางร้านสอนฟรีค่ะ  มีทั้งหมด 4 สาขานะค่ะ  สาขาที่ 1 ฟิวเจอร์ปารค์รังสิต ชั้น 1 ฝั่งเซ็นทรัล Tel.02-958-0000-18 กด 1 ต่อ 1552  สาขาที่ 2 ฟิวเจอร์ปารค์รังสิตชั้น 3 ฝั่งโรบินสัน Tel.02-958-0000-18 กด 1 ต่อ 1943 สาขาที่ 3 ตลาดไท 49/14-15 คลองสอง  คลองหลวง Tel.02-516-8675,02-153-4751 สาขาที่ 4 เดอะมอลล์บางแค  ชั้น 3 Tel.081-819-6983 ค่ะ

จากการสอบถามจากผู้ฝึกสอน
"ส่วนใหญ่คนที่มาฝึกถักนิตติ้งจะอยู่ช่วงอายุไหน"
- ส่วนมากจะเฉลี่ยกันไป ส่วนมากๆวัยรุ่นก็มาถักเพราะชอบหรือตามกระแส  แต่ถ้าวัยกลางคนก็จะถักใส่เองหรือให้คนรัก   ส่วนผู้สูงวัยจะถักให้ลูกหลานและใส่เองค่ะ
"แล้วลายพื้นฐานของการถักคือลายอะไรค่ะ"
- ส่วนมากจะเริ่มต้นด้วยลายนิตกับลายเพิร์ลค่ะ  
"ถ้าคนที่ฝึกถักแรกๆถักลายเปีย ลายลูกฟูกใหญ่เลยจะไหวไหมค่ะ"
- แนะนำว่าให้ถักลายนิตหรือลายเพิร์ลไปก่อนเพราะถ้าถักลายยากจะเกิดความท้อและอาจจะทำให้ไม่อยากถักค่ะ
"ทำไมอุปกรณ์จากทางร้านถึงมีราคาสูง"
- เพราะร้านเราเป็นร้านนำเข้าจากต่างประเทศ อุปกรณ์จะทันสมัยและไหมจะมีความนุ่มกว่าไมทั่วไป
"ขอบคุณค่ะที่ให้สอบถาม"
- ยินดีค่ะ (ยิ้ม)



แล้วmariaจะมาแนะนำวิธีการถักลายอื่นๆอีกต่อไปนะค่ะ      พอไว้เท่านี้ก่อนละกันนะตอนนี้ไม่มีเวลาว่างแล้วค่ะ     ถ้ามีเวลาว่างแล้วจะมาแนะนำวิธีการถักลายอื่นๆใหม่นะค่ะ    Bye...bye ค่าาาาาาาา



เรามาเริ่มถักขั้นพื้นฐานเลยค่ะเริ่มที่การถักลายนิตเลยค่ะ
เริ่มจาการฝึกขึ้นห่วงก่อนนะค่ะ
ทำตามวิดีโอคลิปได้เลยค่ะ








ขั้นต่อไปเรามาเริ่มถักลายนิต(ลง)ได้เลยค่ะ
การถักลายนิต (knit)
สัญลักษณ์ นิต (K) 
                       พอเราขึ้นต้นได้จำนวนห่วงที่เราต้องการแล้วก็เริ่มทำได้เลยค่ะ


1. เมื่อขึ้นต้นเสร็จแล้ว จับไม้นิตดังรูป 1.





2.สอดปลายไม้นิตด้านขวามือเข้าไปที่ห่วงแรกด้านซ้ายมือ



3. ใช้มือซ้ายจับไม้นิตทั้งสองไว้ แล้วใช้มือขวาคล้องไหมพรมเข้าที่ปลายของไม้นิตอันล่าง(อันขวามือ)


4-5. ดึงไม้นิตขวามือลงเล็กน้อยพร้อมทั้งคล้องไหมพรมลอดออกมาจากตรงกลางห่วง







6. ปลดห่วงแรกด้านซ้ายมือ ออกมา จะได้ 1 ห่วงเพิ่มขึ้นที่ไม้นิตด้านซ้ายมือ 1 ห่วง ทำไปเรื่อยๆ จนจบแถวคือไม้นิตด้านซ้ายมือไม่เหลือห่วงอยู่เลยและไม้นิตด้านขวามือมีห่วงอยู่ครบทุกอัน และเมื่อจะทำแถวต่อไปก็นำไม้นิตด้านที่มีห่วงอยู่เต็มมาไว้ทางด้านซ้ายมือ ไม้นิตด้านที่ไม่มีห่วงไว้ทางขวามือ จากนั้นเริ่มทำแถวที่ 2 ต่อไปได้เลยค่ะ ลายที่ได้ออกมาก็จะเป็นดังรูปข้างล่างนี้ ค่ะ



ลายที่เห็นเป็นการถักลายนิตอย่างเดียวทั้งแถวคู่และแถวคี่ หรือเรียกว่าด้านหน้าและด้านหลังชิ้นงาน ในภาษาอังกฤษ และในแพทเทิร์นหนังสือต่างๆ เรียกลาย Garter stitch (ลายการ์เตอร์)







สามารถฝึกตามวีดิโอคลิปได้เช่นกันค่ะ





เรามาฝึกถักลายเพิรล์(ขึ้น)กันต่อดีกว่าค่ะ

ลายเพิรล์ (Purl)

สัญลักษณ์ Purl (P)








เรามาเริ่มทำกันเลยดีกว่าค่ะ สำหรับการจับไม้ก็เหมือนเดิมนะคะ เหมือนตอนทำ ลายนิต(K)


1. สอด(แทง)ไม้นิต ขวามือเข้าไปทางด้านบนของห่วงแรกบนไม้นิตซ้ายดังรูป 1.







2. นำไหมพรมคล้องปลายไม้นิตขวา ดังรูป 2.




3. ดึงไม้นิตขวาลงเล็กน้อยพร้อมทั้งเกี่ยวไหมพรมที่คล้องไว้ลอดผ่านห่วงออกมาดังรูป 3.




4. ปลดห่วงออกจากไม้ซ้าย จะได้ ห่วงที่ไม้ขวา ทำตามข้อ 1-4 ต่อไปเรื่อย ทุกห่วงจนจบแถว 



สามารถฝึกตามวีดิโอคลิปได้เลยค่ะ









อุปกรณ์การถักนิตติ้ง
1. ไหมพรมและด้ายถัก 
          ไหมพรมและด้ายถักในงานนิตติ้ง มีมากมายหลายชนิด หลายขนาด แบ่งตามน้ำหนักและความหนาของเส้นไหม นับตั้งแต่ไหมพรมเส้นใหญ่ จนถึงไหมพรมเส้นเล็กมาก ความหนาของเส้นไหมที่แตกต่างกันจะเหมาะกับงานถักที่แตกต่างกัน






2. ไม้นิต

          ไม้นิตมีหลายชนิดทำจากวัสดุที่แตกต่างกัน เช่น ไม้นิตไม้ไผ่, ไม้นิตอลูมิเนียมเคลือบสารเทฟลอน และไม้นิตพลาสติก เป็นต้น ไม้นิตที่นิยมใช้ในเมืองไทยผลิตจากอเมริกา อังกฤษ (ไม้นิตหัวแดง) และไม้ นิตญี่ปุ่น เบอร์ ขนาดของไม้นิตในแต่ละประเทศจะแตกต่างกัน เราจะวัดขนาดของไม้นิตที่เส้นผ่าศูนย์กลางของไม้นิตและวัดเป็นขนาดมิลลิเมตร ไม้นิตมีหลายแบบ หลายขนาด ดังนี้
- ไม้นิตตรง    ใช้ถักนิตติ้งแบบกลับไปกลับมา






- ไม้เซตและไม้นิตวงกลม    ใช้ถักนิตติ้งแบบเป็นวงกลม









- ไม้นิตถักลายเกลียว   ใช้ถักนิตติ้งที่มีลายเป็นลายเกลียว 



3. วัสดุอุปกรณ์ช่วยอื่น ๆ 
          มีเพียงไหมพรมและไม้นิต เราก็สามารถถักนิตติ้งได้แล้ว แต่จะให้งานถักนิตติ้งสะดวกรวดเร็ว และสมบูรณ์สวยงามตามต้องการ เราคงต้องพึ่งวัสดุอุปกรณ์ช่วยอื่น ๆ เช่น
- เข็มโครเชต์ เป็นอุปกรณ์ช่วยที่สำคัญชนิดหนึ่ง ที่ทำให้งาน 
นิตติ้งง่ายขึ้น เมื่อเกิดปัญหาห่วงหลุด เราก็สามารถใช้เข็มโครเชต์ควักห่วงที่หลุดขึ้นมาได้ หรือจะใช้ในการเย็บประกอบงานถักแทนเข็มเย็บไหมพรมได้ในบางกรณี และใช้ถักลายเพื่อตกแต่งงานนิตติ้งให้สวยงามขึ้น ควรหาซื้อเข็มโครเชต์ไว้หลาย ๆ ขนาด ทั้งนี้เพื่อความสะดวกในการใช้งาน และไม่ทำให้งานถักหยุดชะงัก








- อุปกรณ์วัดงานนิตติ้ง    สำหรับใช้วัดขนาดถัก วัดขนาดทั่วไป และวัดขนาดไม้นิต








- กระสวยพันไหม   ใช้ในงานถักสลับสี กระสวยพันไหมที่จำหน่ายในท้องตลาด มีอยู่ 3 ขนาด คือ เล็ก กลาง และใหญ่ เมื่อจะใช้ถักสลับสี ก็ให้ตัดไหมยาวประมาณ 2 เมตร แล้วพันไหมแต่ละสีไว้ในกระสวย แล้วจึงถักไหมจากกระสวยนั้น ๆ











- อุปกรณ์ทำตำแหน่งหรือคั่นลาย   ประกอบด้วย จำนวนห่วงและจำนวนแถวมากมาย รวมทั้งอาจมีลายถักประกอบด้วย เพื่อป้องกันการสับสนและกันลืม จึงสมควรอย่างยิ่งที่จะมีอุปกรณ์ทำตำแหน่งหรือคั่นลายไว้ในกล่องอุปกรณ์เสมอ









- เข็มพักห่วง    บางครั้งในงานถักนิตติ้ง จะมีการพักห่วงถักไว้ก่อนชั่วคราว เพื่อรอถักต่อไป เช่น ห่วงกลางคอหน้าและกลางคอหลัง หรือห่วงที่ไหล่เสื้อ เป็นต้น จึงจำเป็นต้องมีเข็มพักห่วงขนาดต่าง ๆ หรือจะใช้เข็มกลัด หรือ ไหมร้อยห่วงไว้แทนก็ได้









- เข็มหมุดและเข็มเย็บ   สำหรับเข็มหมุดนิตติ้งนั้นจะมีรูปตัวTหรือเป็นเข็มหมุดที่มีหัวใหญ่กว่าเข็มโดยทั่วไป     ทั้งนี้เพื่อป้องกันไม่ให้ เข็มหมุดจมหายไปในงานถัก ส่วนเข็มเย็บจะมีปลายเข็มมน รูเข็มยาวและใหญ่ควรมีไว้หลาย ๆ ขนาด

  













วันเสาร์ที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2555


เรามาเริ่มทำความรู้จักกับประวัติความเป็นมาของการถักนิตติ้งกันดีกว่าค่ะ

ประวัตินิตติ้ง

        จากใน encyclopidia บอกว่า ต้นกำเนิดยุคแรก ๆ ของนิตติ้งนั้นไม่สามารถระบุเจาะจงในทางภูมิศาสตร์ลงไปได้ค่ะ ว่ามีต้นกำเนิดที่ใด แต่เป็นที่เชื่อกันอย่างกว้างขวางว่านิตติ้งนั้นได้ถูกพัฒนาขึ้นก่อนสมัยคริสกาลถึงอย่างไรปัจจุบันก็ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่มากค่ะ     และสิ่งเก่าแก่ที่สุดที่ถูกมนุษย์ประดิษฐ์ขึ้นด้วยการถักนิตนี้ก็คือถุงเท้า ซึ่งเชื่อกันว่าถุงเท้า (socks)และถุงเท้ายาว(Stockings) เป็นสิ่งที่ได้ถูกทำขึ้นมาโดยการใช้เทคนิคที่คล้าย ๆ กับการถักนิตติ้ง   โดยถุงเท้าเหล่านี้ได้ถูกทำขึ้นด้วยวิธีที่เรียกว่า Nalebinding ซึ่งเป็นเทคนิคในการใช้เข็มเพียง 1 อันทำเส้นใยผ้า(ไหม)ให้เป็นห่วงปมหลายๆ ปมหรือหลายๆ ห่วงและหลายๆชิ้นงานของเครื่องนุ่งห่มที่มีอยู่ได้ถูกพัฒนาขึ้นมาโดยการใช้เทคนิค nalebinding ซึ่งส่วนหนึ่งก็มองดูแล้วคล้ายๆ กับงานนิตติ้งเสียจริงๆ ตัวอย่างเช่น ถุงเท้าในสมัยคริสศตวรรษที่ 3 - 5  และในหลายๆ ชิ้นงาน         แม้ปัจจุบันนี้ก็ไม่สามารถบอกได้ว่าเป็นเทคนิคแบบใดซึ่งทำให้เกิดความเข้าใจผิดหรือสับสนระหว่างงานนิตติ้งกับโครเชร์     สิ่งอ้างอิงทางประวัติศาสตร์ถึงงานนิตติ้งที่แท้จริงพบในยุโรปช่วงต้นคริสศตวรรษที่ 14  และถุงเท้านิตติ้งคู่แรกที่เก่าแก่ที่สุดก็ถูกพบในอียิปต์ในช่วงเวลาคริสศตวรรษที่ 11 โดยในช่วงเวลาดังกล่าวนี้ลายการถักแบบเพิร์ล(ลายเพิร์ลเป็นรูปแบบการถักที่ถักตรงกันข้ามกับการถักแบบนิต)ยังไม่เป็นที่รู้จัก และโครงข่ายเส้นใยผ้าได้ถูกถักนิตขึ้นมาเป็นรอบแล้วก็ตัดซึ่งปัจจุบันกระบวนการทำแบบนี้เรียกกันว่าการปิด (steeking)สำหรับรูปแบบการถักแบบเพิร์ลได้พบครั้งแรกในช่วงกลางคริสศตวรรษที่ 16 แต่เทคนิคการถักแบบนี้ได้ถูกพัฒนาขึ้นอย่างช้าๆ







นิตติ้งยุคเอลิซาเบธ
         ในยุคนี้การผลิตถุงเท้ายาวเป็นส่วนสำคัญยิ่งต่อชาวอังกฤษผู้ทำงานถักซึ่งใช้ขนสัตว์อย่างดีและมีการส่งออกเครื่องนุ่งหุ่มของพวกเขา   โรงเรียนสอนนิตติ้งได้ถูกก่อตั้งขึ้นมาเพื่อเป็นหนทางในการหารายได้ให้กับคนยากจน  แฟชั่นในยุคนี้  สำหรับผู้ชายแล้วจะนิยมสวมกางเกงขาสั้นซึ่งเหมาะกับแฟชั่นถุงเท้ายาว     ถุงเท้ายาวที่ผลิตจากอังกฤษจะส่งไปขายยังเนเธอแลนด์ สเปน และเยอรมันนี        พระราชินีเอเลซาเบธที่ 1 ทรงชื่นชอบในการสวมใส่ถุงเท้ายาวที่ทำจากเส้นไหมคุณภาพดี นุ่มและราคาแพงมาก   ถุงเท้ายาวของพระราชินีเอลิซาเบธที่ 1 ยังคงมีอยู่ โดยหลายๆ ชิ้นบ่งบอกถึงคุณภาพที่สูงของเส้นไหมและเป็นการถักเป็นพิเศษสำหรับพระราชินีโดยเฉพาะผู้ชายก็ได้เริ่มถักนิตเป็นอาชีพครั้งแรกในยุคนี้ด้วยเช่นกัน
ประวัติที่สำคัญของชาวสก๊อต
        1855 sketch of a shepherd knitting, while watching his flock
ในช่วงศตวรรษที่ 17-18 ชาวเกาะสก๊อต ได้มีการถักนิตติ้งเพื่อทำเป็นอาชีพในครัวเรือนไม่ว่าจะเป็นการถักเป็นเสื้อกันหนาว(สเวตเตอร์) สิ่งของต่างๆ ถุงเท้า ถุงเท้ายาว เป็นต้น  ชาวเกาะมีการคิดค้นเทคนิคต่างๆ ในการถัก ทำเป็นรูปแบบแพทเทิร์นหลากสีสัน   เสื้อกันหนาวเป็นเครื่องนุ่งห่มที่จำเป็นและมีความสำคัญมากสำหรับชาวเกาะ จะถูกถักขึ้นจากขนสัตว์เพื่อใช้กันหนาวในยามที่ต้องออกเรือประมงซึ่งต้องผจญกับอากาศที่เลวร้ายมากๆๆ  งานหลายๆ ชิ้นถูกออกแบบและทำขึ้นอย่างปราณีต เช่น เชือกที่ถักขึ้นใช้ใน Aran sweaters ได้ถูกพัฒนาขึ้นในตอนต้นศตวรรษที่ 20 ในไอแลนด์







ยุคอุตสาหกรรม
        ในเบื้องต้นอุปกรณ์การถักนิตติ้งนั้นได้มีการประดิษฐ์ขึ้นมาก่อนยุคอุตสาหกรรม แต่ก็ได้เลิกใช้ไป เมื่อมาถึงยุคอุตสาหกรรม การปั่นด้ายขนสัตว์และเครื่องนุ่งห่มต่างๆ ได้ทำกันในโรงงานอุตสาหกรรม  แรงงานผู้หญิงส่วนใหญ่แล้วจะเข้าทำงานในโรงงานใช้เครื่องจักรมากกว่าการผลิตนั่งปั่นด้ายและถักนิตติ้งอยู่กับบ้าน  ด้วยว่าการปั่นขนสัตว์ในโรงงานทำได้ดีกว่า หลากหลายรูปแบบมากกว่า และได้ขนาดตามต้องการมากกว่านั่นเอง   โดยเฉพาะในเมืองน๊อตติงแฮม เป็นที่รู้จักกันดีว่าเป็นเหมือนตลาดของงานถักร้อย และเป็นแหล่งผลิตสำคัญของการถักนิตติ้งด้วยเครื่องจักรในช่วงยุคอุตสาหกรรมและในรอบสิบปีให้หลัง








1939-1945 : ยุคเฟื่องฟูของนิตติ้ง
        " Make do and mend " ...ข้อความที่บ่งบอกว่าทำและซ่อมนี้เป็นข้อความที่ปรากฏอยู่ในหนังสือที่ได้จัดทำขึ้นมาในระหว่างช่วงเวลาสงครามของกระทรวงสารสนเทศแห่งรัฐบาลอังกฤษ    ขนแกะขาดแคลนเป็นอย่างมากเช่นเดียวกับสิ่งต่างๆ     ในหนังสือเล่มนี้ก็ได้สร้างขวัญกำลังใจให้ผู้หญิงมีการหันมาเลาะตะเข็บจากเสื้อผ้าเครื่องนุ่งหุมเก่า ๆที่ไม่ใช้งานแล้ว ตลอดจนขนสัตว์ก็ได้มีการนำกลับมาใช้ใหม่อีกครั้ง  มีการสร้างแพทเทิร์นงานนิตติ้งขึ้นมากเพื่อให้ประชาชนได้ถักเครื่องนุ่งห่มให้กับกองทัพทหารไว้สวมใส่ในช่วงฤดูหนาว เช่น หมวกไหมพรม และถุงมือ เป็นต้น  นี่ก็ไม่เพียงแค่เป็นการผลิตสิ่งจำเป็นต่างๆของกองทัพเท่านั้น     แต่ยังถือได้ว่าเป็นการประสบความสำเร็จในสร้างความรู้สึกเชิงบวกให้กับประชาชนในเรื่องสงครามได้ที่เรียกว่า home front 
1950s and 60s :ยุคแห่งเครื่องนุ่งห่ม
        ภายหลังการเกิดสงครามนิตติ้งได้แพร่หลายเป็นอย่างมาก   ทั้งในเรื่องของการเริ่มมีการผลิตไหมหลากหลายสีสันและรูปแบบหลาย ๆ พันแพทเทิร์นที่มีสีสันสดใสกลายเป็นที่ต้องการของตลาดเป็นอย่างมาก      ในยุคนี้ชุดที่ประกอบไปด้วยเสื้อแขนสั้นสีเดียวกันกับเสื้อขนสัตว์ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก นอกจากนี้เป็นยุคที่นิตติ้งไม่ใช่เป็นเพียงงานอดิเรกเสียแล้ว    โดยบรรดาเด็กผู้หญิงมักคุยกันถึงเรื่องของการเข้าเรียนการถักนิตติ้งในโรงเรียน     เกิดนิตยสารอย่าง "Pins and needles" ขึ้น ซึ่งเป็นนิตรสารที่รวบรวมเรื่องราวต่างๆ ของงานนิตติ้งเอาไว้ไม่ว่าจะเป็นแพทเทิร์นที่ยากๆ ไม่เพียงแต่แพทเทิร์นเสื้อผ้าเท่านั้น ยังมีแพทเทิร์นพวก ของเล่น กระเป๋า  ซึ่งสามารถสร้างรายได้ได้
1980s: ยุคเสื่อมถอย
        ความนิยมของนิตติ้งเสื่อมถอยลงอย่างเห็นได้ชัดในยุค 1980 ในฝั่งโลกตะวันตก ไหมและแพทเทิร์นต่างๆ ราคาตกต่ำลง เช่นเดียวกับที่งานฝีมือต่างๆ ก็มีเพิ่มมากขึ้น ซึ่งจะเห็นได้จากแฟชั่นเก่าๆ และการที่เด็ก ๆ ค่อนข้างจะพูดถึงการถักนิตติ้งในโรงเรียน       ผลจากการเพิ่มขึ้นนี้และราคาที่ลดลงของงานถักนิ้ตติ้งด้วยเครื่องจักรนั้นบ่งบอกถึงว่าผู้บริโภคสามารถที่จะมีเสื้อสเวตเตอร์ได้เทียบเท่าการซื้อเสื้อขนสัตว์และตามรูปแบบของพวกเขาเองหรือบ่อยขึ้น




นิตติ้งยุคศตวรรษที่ 21 : ยุคแห่งการฟื้นฟู
        หลังจากที่นิตติ้งได้เสื่อมถอยลง แต่พอมาถึงในศตวรรษที่ 21 กลับมามีชีวิตขึ้นอีกครั้ง      เส้นใยจากธรรมชาติต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเส้นใยจากสัตว์ เช่น พวก อัลพาคาร์  แองกอร่า  และ มาริโน เป็นต้น  หรือจะเป็นเส้นใยจากพืชซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นเส้นใยจากฝ้าย    เนื่องจากหาได้ง่ายราคาไม่แพงหาได้ทั่วไป ผู้บริโภคจะมีการมองหาเส้นใยจากต่างประเทศ เช่น เส้นใยจำพวกไหม ไม้ไผ่ หรือ ขนวัว ซึ่งได้รับความนิยมมากขึ้นเป็นอย่างมาก      โรงงานเริ่มมีการผลิตเส้นไหมที่แปลกใหม่มากขึ้น   บรรดานักออกแบบเริ่มมีการสร้างงานแพทเทิร์นที่ค่อยๆ เป็นการตัดเย็บที่ชิ้นงานใหญ่ขึ้นและทำได้อย่างเร็ว  บรรดาผู้มีชื่อเสียง อย่างเช่น Julia Roberts , Winona Ryder Dakota Fanning และ Cameron Diaz เริ่มสนใจนิตติ้งและช่วยทำให้งานฝีมือกลับมาได้รับความนิยมอีกครั้ง สำหรับในศักราชใหม่นี้ยังมีงานนิตติ้งที่สร้างสรรค์โดยบรรดาผู้ชายอีกด้วย
ศิลปะแห่งนิตติ้งได้เปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลาและเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไป อินเทอร์เน็ตทำให้มีการติดต่อระหว่างกันของคนถักนิตติ้ง แลกเปลี่ยนความสนใจ ความรู้ ระหว่างกันและกันไปทั่วโลก โดยในช่วงแรก ๆ สมาชิกในกลุ่มนิตติ้งที่ติดต่อกันทางอินเทอร์เน็ตมีประมาณ 1 พันคน  และในปี 1998 ได้มีนิตยสารออนไลน์เกิดขึ้นชื่อว่า KnitNet และหลังจากนั้นก็จุดประกายให้เกิดกลุ่มผู้ถักนิตติ้งนานาชาติขึ้น  แพทเทิร์นต่างๆ ทั้งจากงานพิมพ์และออนไลน์ได้ก่อให้เกิดเป็นศูนย์กลางแหล่งแพทเทิร์นนิตติ้งขึ้นโดยเฉพาะ ซึ่งที่รู้จักกันก็มี Knit-a-long หรือ KAL     เมื่อวันที่ 14 มกราคม 2006 ได้มีการจัดให้มีการแข่งขันนิตติ้งระดับโลกขึ้น คือ นิตติ้งโอลิมปิค      โดยจัดกันในช่วงฤดูหนาว ณ เมือง Torino ซึ่งงานนี้ก็ได้จัดยาวเลยช่วงเวลาการจัดโอลิมปิคไปถึง 16 วัน โดยมีผู้เข้าร่วมแข่งขันประมาณ 4000 คน